กิจกรรมโครงการอบรมส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายการปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบให้แก่ผู้บริหารและบุคลากรของมหาวิทยาลัย

0
443
  • เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2566 มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยกองกฎหมาย จัดอบรมส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายปราบปรามการทุจริต และประพฤติมิชอบแก่ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานสังกัดมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยได้รับเกียรติจาก ผศ.นพ.ธรา ธรรมโรจน์  รองอธิการบดีฝ่ายบริหารมหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวเปิดงาน  และมีนางสาวสุนิภา ไสวเงิน  ผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดี กล่าวรายงาน  ได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้มีความเชี่ยวชาญด้านกฎหมายการปราบปรามการทุจริต นายอุทิศ บัวศรี รองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ บรรยายให้ความรู้เรื่อง “การป้องกันการกระทำผิดเกี่ยวกับการขัดกันแห่งผลประโยชน์”  ทั้งนี้มีผู้บริหารมหาวิทยาลัย คณบดี ผู้อำนวยการกอง ผู้บริหารส่วนงาน หัวหน้าส่วนงาน ศูนย์ สถาบัน สำนัก ร่วมงานจำนวนมาก  ณ ห้องประชุมสิริคุรากร 3 สำนักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น

  • ผศ.นพ.ธรา ธรรมโรจน์  รองอธิการบดีฝ่ายบริหารมหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า  ตามยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ได้ตระหนักและให้ความสำคัญเกี่ยวกับสถานการณ์การทุจริตในสังคมไทย มหาวิทยาลัยขอนแก่นในฐานะสถาบันการศึกษาได้ร่วมมือกับทุกภาคส่วน เพื่อคงไว้ซึ่งการดำเนินกิจการของรัฐในทางที่ถูกต้อง  โดยโครงการครั้งนี้ได้จัดอบรมเรื่อง การป้องกันการกระทำผิดเกี่ยวกับการขัดกันแห่งผลประโยชน์   ซึ่งในการดำเนินกิจการของรัฐ ไม่ควรมีผลประโยชน์ทับซ้อน เพราะเป็นถือเป็นการทุจริตคอร์รัปชันประเภทหนึ่ง การแสวงหาประโยชน์ ส่วนบุคคลโดยการละเมิดต่อกฎหมายหรือจริยธรรม ด้วยการใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ไปแทรกแซงการใช้ดุลพินิจในกระบวนการตัดสินใจของเจ้าหน้าที่ของรัฐ จนทำให้เกิดการละทิ้งคุณธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ขาดความเป็นอิสระ ความเป็นกลาง และความเป็นธรรม จนส่งผลกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ ของส่วนรวม และทำให้ผลประโยชน์หลักขององค์กร หน่วยงาน สถาบันและสังคมต้องสูญเสียไป ซึ่งบางท่านอาจรู้หรือไม่รู้ในการกระทำ หรือเกิดจากการรู้ไม่ทัน ไม่ทราบกฏระเบียบอย่างลึกซึ้ง โดยเฉพาะกิจการของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่มีการดำเนินการ ทั้งการอนุมัติ การอนุญาต การจัดซื้อ จัดจ้าง การจัดประมูล หรือกิจกรรมในหลายภาคส่วน ซึ่งเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ จึงเป็นเรื่องที่บุคลากรทุกภาคส่วนจำเป็นจะต้องเรียนรู้ เข้าใจ พึงตระหนักและให้ความสำคัญ เพื่อให้การปฏิบัติงานของมหาวิทยาลัยให้เป็นไปด้วยความสุจริต โปร่งใส ตรวจสอบได้ ภายใต้หลักธรรมาภิบาล  และในท้ายที่สุดจะบังเกิดผลดีแก่มหาวิทยาลัย สังคมและประเทศชาติสืบไป
  • นายอุทิศ บัวศรี รองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เผยว่าการป้องกันการกระทำผิดเกี่ยวกับการขัดกันแห่งผลประโยชน์  ต้องใช้สมองส่วนหน้า ฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์แยกแยะระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม แล้วยึดประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน  รวมถึงใช้จริยธรรมเพื่อทำความเข้าใจเรื่องการทุจริตต่อหน้าที่ การขัดกันแห่งผลประโยชน์ (COI) ประกอบด้วย  การรับผลประโยชน์ต่าง ๆ  การทำธุรกิจกับตัวเองหรือเป็นคู่สัญญา การทำงานหลังจากออกจากตำแหน่งสาธารณะหรือหลังเกษียณ การทำงานพิเศษ การรู้ข้อมูลภายใน การใช้ทรัพย์สินของราชการเพื่อประโยชน์ส่วนตัว 

    “การป้องกันการเกิดผลประโยชน์ทับซ้อน ถือเป็นความผิดที่คนส่วนใหญ่ไม่ได้ตั้งใจ ด้วยคำว่า เล็กน้อย ใคร ๆ ก็ทำกัน อาทิ การรับของที่ระลึก ผ้าไหม  เเน็กไทด์ กระเช้า มื้ออาหาร  ที่มีราคา 3,000 บาทขึ้นไป หากศาลวินิจฉัยกระทำจริง จะลงโทษจำคุก 3 ปี ปรับ 60,000 บาท นี่เป็นสิ่งที่เจ้าหน้ารัฐไม่ทราบ ยกตัวอย่าง หากอาจารย์ทานข้าวมื้อนั้น เวลาตรวจวิทยานิพนธ์  อาจนึกถึงหน้าคนนี้ ในอาหารมื้อนั้น มันจะเปลี่ยนผิดเป็นถูก อนุโลม วิจัยก็ไม่ความไม่เที่ยงแล้วถูกหรือไม่  หลายคนไม่ทราบ ไม่ตั้งใจให้เกิด แต่มักตายน้ำตื้น  ทั้งนี้ปัญหาส่วนใหญ่มนุษย์มักแยกแยะไม่ออกว่าสิ่งไหนเรียกว่าทุจริต เปรียบเทียบง่าย ๆ การเอาความรู้สึกเหนือความถูกต้องโดยกฏหมายกำหนด ถือเป็น ทุจริต ในฐานการกระทำผิดเกี่ยวกับการขัดกันแห่งผลประโยชน์แล้ว เจ้าหน้าที่รัฐจึงจำเป็นต้องศึกษษเรียนรู้เพื่อส่วนรวมและส่วนตนเมื่อเข้าใจแจ่มแจ้งจะป้องกันจากเหตุไม่พึงเกิดได้”

ข่าว : กองสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ภาพ : กองสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยขอนแก่น